วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สะกดรอยฯ_07-04-55_5 อันดับข่าวดัง&Green Industry

มาติดตามฟังว่ามีเหตการณ์อะไรใหญ่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมบ้าง
และติดตามรับฟังเรื่องของ Green Industry จากผู้เชี่ยวชาญ ผอ.ศิริรุจ จุลกะรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สะกดรอยฯ_07-04-55_ศักยภาพอุตฯสิ่งทอ





แขกรับเชิญพิเศษ           นางสุทธินีย์  พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

แนวคำถาม
        1. จากที่จะมี AEC ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไม่ว่าจะเป็นทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีความพร้อมหรือมีศักยภาพในการเตรียมพร้อมรับ AEC มากน้อยแค่ไหน
        2. ณ ตอนนี้ในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะต้องมีการเตรียมพร้อม เตรียมรับมือ หรือต้องเพิ่มเติมอะไรอีกบ้าง และอะไรที่ถือว่ายังเป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอฯ อยู่ในขณะนี้
        3. เมื่อมีการทำ AEC คงจะต้องมีเรื่องของมาตรฐานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องในการค้าระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ท่านคิดว่ามาตรฐานเหล่านี้จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอฯ มากแค่ไหน และมีแนวทางแนะนำผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง
        4. ทิศทางอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มควรจะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง

สะกดรอยฯ_07-04-55_ศักยภาพอุตฯสิ่งทอ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สะกดรอยฯ_24-03-55_ภาวะอุตฯเครื่องนุ่งห่ม



สัมภาษณ์สด คุณสุกิจ วงศ์พร้อมรัตน์ (นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย)

ประเด็นหลักที่พูดคุยกันสามารถสรุปได้ดังนี้
1.             ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางบวกและทางลบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทย
1.1)  การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300บาท/วัน เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางลบต่อธุรกิจเครื่องนุ่งห่มของไทยอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับเจ้าของหรือผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานที่ต่ำกว่า เช่น พม่า กัมพูชา หรือทำให้ไม่ลงทุนเพิ่มในประเทศไทย
1.2) นอกจากการขึ้นค่าแรงที่ทำให้ผู้ประกอบย้ายฐานการผลิตแล้ว การขาดแคลนแรงงานยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตเนื่องจากการขาดแคลนแรงงาน เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางลบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของไทย เนื่องจากแรงงานไทยที่จบการศึกษาทำงานไม่ตรงกับสาขาวิชาศึกษามา มีแรงงานจำนวนน้อยที่จะเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม
แนวทางการแก้ไขคือ นำเข้าแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ที่มีค่าแรงที่ต่ำกว่า และพัฒนาแรงงานไทยให้สามารถทำงานได้หลายฟังก์ชันหรือให้ทำงานได้หลายๆหน้าที่ในคนๆเดียว
1.3) การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เป็นปัจจัยส่งผลทางบวกต่ออุตสาหกรรม เครื่องนุ่งห่มไทย เพราะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้ไทยแข่งขันกับประเทศในอาเซียนได้ ไม่ว่าจะด้วยต้นทุน เทคโนโลยี เป็นต้น แรงงานมีฝีมือในด้านการออกแบบและตัดเย็บ

        2.แนวทางการอยู่รอดของผู้ประกอบการเมื่อมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
                  เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ทางสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยได้จัดตั้งกลุ่ม Best practice เป็นกลุ่มที่จะให้ความรู้ทางด้านการดำเนินธุรกิจ ที่มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ เป็นโครงการพี่สอนน้อง

สะกดรอยอุตสาหกรรม_17-03-55_พม่าน่าลงทุน?



“มองเขาดูเรา รู้เท่า รู้ทัน”  ช่วง “สะกดรอยอุตสาหกรรม”
ดำเนินรายการโดย ดร.อัธ พิศาลวานิช และธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
คุณธัศภรณ์ฌณก จันทระ และ คุณกฤษฎา นุรักษ์
          มี 3 ช่วง ถอดรหัส KM เป็นการนำความรู้ในองค์กรุรกิจ โดยนำKm มาบริหารความรู้ไม่ให้กระจัดกระจายและให้เป็นศูนย์รวมเดียวกัน องค์กรปัจจุบันขาดการพัฒนาความรู้ เพราะมีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน ความรู้ต่างๆสำคัญมาก
          ช่วงรู้ทันเทคโน นำเสนอในเรื่องข้อมูลที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เน้นเทคโนโลยีการผลิต ในต่างประเทศมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้ในการผลิตมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการเพิ่มพัฒนาการผลิตของอุตสาหกรรมไทยวันนี้มีการสัมภาษณ์สด
          ช่วงนิรดา วิสุทธิชาติธาดา ระบบเตือนภัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรมว่า เดินทางไปไหนทางไหน เพื่อเตรียมการรับมือ
          KM คือ การจัดการความรู้ การเอาความรู้ที่อยู่ในองค์กร ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ต้องมีการถ่ายทอดความรู้เพื่อนให้องค์กรไม่ต้องหยุดชะงัก
          KM คืออาหารความรู้ การจัดการความรู้ เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร คือ งานบรรลุเป้าหมายได้ พัฒนาคน การพัฒนาองค์กรเพื่อการเรียนรู้เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน การเอื้ออาทรระหว่างพนักงาน ไม่ต้องลงทุนมากมาย ให้พนักงานทุกคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน ยกตัวอย่างจากบริษัท สุธียูไนเต็ด เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการผลิตชิ้นส่วนในการผลิตผลิตภัฑต์ พนักงานมีการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต และมีเทคโนโลยีที่ดีทำให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพ
          ยกตัวอย่าง รถมาสด้าโดยที่บริษัทมาสด้า มอเตอร์คอรเปอร์เรชั่น  ร่วมกับผู้ผลิตพลาสติกที่ประเทศญี่ปุ่นสามรถผลิตกันชนที่สามารถใช้พลาสติกน้อยลง 20% มีกระบวนการที่เร็วขึ้น 50 % ทำให้ทนต่อการทะแทกได้ดี รุ่น CX5 SUV เริ่มจำหน่ายในอเมริกาปีหน้า และจำหน่ายในไทยปีหน้า
          เราเน้นเรื่องเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทุกๆด้าน เศรษฐกิจพม่าเริ่มดีน่าลงทุนและหนึ่งในอาเซียน เที่ยวบินในพม่าเต็มทุกเที่ยว ราคาโรงแรมขึ้น 20% พม่ามีประเทศที่ติดจีน อินเดีย แต่โครงสร้างพื้นฐานพม่าต้องพัฒนา พม่าเปิดประเทศแล้วควรลงทุนแรกเริ่มไม่จำเป็นต้องเป็นธุรกิจใหญ่ๆ ก่อน ควรลงทุนที่เหมาะกับสภาพแรกเริ่มของพม่าในการเปิดประเทศ เช่น พวกอาหาร สิ่งทอ

มองเขาดูเรา_10-03-55_ทวายประตูการค้าใหม่



รายการ สะกดรอยอุตสาหกรรม
ดำเนินรายการโดย
ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช และ ธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
แขกรับเชิญ ดร
.สมเจตน์ ทิณพงศ์
กรรมการผู้จัดการทวายเดเวลอปเมนต์  บริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำกัด ( มหาชน )
และ คุณ นิยม ไวยรัชพานิช
ประธานกรรมการการค้าชายแดน หอการค้า
เสวนาโต๊ะกลม : ทวาย ประตูการค้าใหม่เชื่อมไทยกับอุตสาหกรรมโลก
            โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า (Dawei Deep Sea Port & Industrial Estate Project and Transborder Corridor Link) เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่า คาดการณ์กันว่า หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะเป็นประตูเศรษฐกิจ (Gate Way) แห่งใหม่ของโลกตะวันตกและตะวันออก โครงการนี้ ถือเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์และการค้าขนาดใหญ่ของภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ผ่านทะเลอันดามัน ไปสู่มหาสมุทรอินเดียซึ่งเป็นเส้นทางที่สามารถส่งสินค้าทั้งไปและกลับทางน้ำ ผ่านไปสู่กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง, ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยพัฒนาการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เจริญเติบโตในระยะยาวต่อไปเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ได้ร่วมลงนามใน Framework Agreement กับ Myanma Port Authority, Ministry of Transport ของสหภาพพม่า เพื่อดำเนินการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า ซึ่งบริษัทฯเป็นผู้ได้รับสัมปทานในการพัฒนาโครงการ ประกอบด้วย
1) ท่าเรือน้ำลึก  
2) นิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ โรงเหล็ก โรงปุ๋ยโรงไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่นๆ
3) เส้นทางการคมนาคมได้แก่ ถนน ทางรถไฟ และท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เชื่อมระหว่างเมืองทวาย สหภาพพม่า กับประเทศไทยที่บ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี
4) ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า ศูนย์การท่องเที่ยว รีสอร์ท และศูนย์พักผ่อนบริษัทฯพื้นที่โครงการตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหภาพพม่า ห่างจากเมืองทวาย ประมาณ 30 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 400,000 ไร่ หรือ 250 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย ท่าเรือน้ำลึก 2 ท่า ส่วนที่เป็นนิคมอุตสาหกรรม ส่วนที่พักอาศัย ส่วนราชการ และส่วนอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งมีพื้นที่ริมทะเลเป็นแนวหาดทรายมีความยาวมากกว่า 12 กิโลเมตร                
                บริษัท อิตาเลียนไทย ได้ลงมือก่อสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย จากบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมืองกาญจนบุรี เชื่อมโยงถึงท่าเรือน้ำลึกทวาย ระยะทาง 160 กิโลเมตร โดยด่านพุน้ำร้อนมีระยะทางห่างจาก อ.เมือง ประมาณ 71 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 129 กิโลเมตร ดังนั้น ระยะทางจากทวายถึงกรุงเทพฯ จึงมีระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์เพียง 4 ชั่วโมงโดยเฟสแรกจะเป็นการสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2555 ภายใต้งบประมาณมูลค่า 2 พันล้านบาท ระหว่างนั้นจะเริ่มดำเนินการเฟสที่สองคือ การก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย และเฟสที่สามคือ การสร้างเขตนิคมอุตสาหกรรม แบ่งเป็นโซนต่างๆ ประกอบด้วย โซน (A) Port & Heavy Industry โซน (B) Oil & Gas Industry โซน (C1) Up Stream Petrochemical Complex โซน (C2) Down Stream Petrochemical โซน (D) Medium Industry และโซน (E) Light Industry
                ท่าเรือน้ำลึกทวายนี้ ยังอยู่ในโครงการเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS) ตามกรอบความร่วมมือยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมในพื้นที่ที่มีศักยภาพตามเส้นทางพัฒนา 3 แนวทาง คือ ทั้งระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC ระหว่างเมืองดานัง เวียดนาม-เมืองเมาะละแหม่ง พม่า) และระเบียงเศรษฐกิจแนวใต้ (Southern Economic Corridor : SEC ระหว่างนครโฮจิมินห์ เวียดนาม-เมืองทวาย พม่า) รวมทั้งยังสามารถเชื่อมโยงกับเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC ระหว่างนครคุนหมิง จีนตอนใต้-กรุงเทพฯ)             
                ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากโครงการนี้ คือ ด้านศักยภาพความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ กล่าวได้ว่า ท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็น
New Land Bridge ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการกระจายสินค้าในระดับโลก สามารถเชื่อมโยงตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้ มาทางมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน ซึ่งแต่เดิมสินค้าที่ส่งไปยุโรป แอฟริกา หรือตะวันออกกลางจะต้องผ่านทางช่องแคบมะละกา ใช้ระยะเวลานาน 16-18 วัน หากท่าเรือน้ำลึกทวายแล้วเสร็จจะช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งในปัจจุบัน หากขนส่งจากทะเลจีนใต้มายังทะเลอันดามัน หรือจากเวียดนามมายังพม่าจะใช้เวลาเพียง 6 วัน ทำให้ช่วยลดระยะทางการขนถ่ายสินค้า และลดค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าได้มากขึ้นสำหรับประเทศไทยท่าเรือน้ำลึกทวายจะเป็นประตูเศรษฐกิจบานใหม่ ที่เชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวาย กับท่าเรือแหลมฉบัง ตามยุทธศาสตร์การค้าการลงทุน เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านของรัฐบาล ดังนั้น สินค้าต่างๆ ที่ไม่ว่าจะมาจากยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ย่อมจะผ่านท่าเรือน้ำลึกทวายออกสู่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยใช้ระยะเวลาเพียง 1 วัน เท่านั้น และสามารถส่งผ่านไปยังประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น หรือประเทศในแถบแปซิฟิค ในส่วนของความเชื่อมโยงเชิงพื้นที่ท่าเรือน้ำลึกทวายเชื่อมโยงกับประเทศไทย ที่ด่านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ซึ่งสถานภาพเป็นด่านชายแดนชั่วคราว ยังไม่มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยทางจังหวัดได้กำหนดให้เป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวเพื่อให้ บ.อิตาเลียนไทย ใช้ผ่านเข้าออกในการก่อสร้างถนนไฮเวย์กาญจนบุรี-ทวาย และทางจังหวัดกาญจนบุรีได้กำหนดเป็นวิสัยทัศน์ของจังหวัดในด้านการพัฒนาพื้นที่ ชายแดนและการเชื่อมโยงด้านการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน

มองเขาดูเรา_25-02-55_รู้จัก ส.ไทย-เยอรมัน



รายการ มองเขาดูเรา รู้เท่ารู้ทัน ช่วง เตือนภัยอุตสาหกรรมไทยในอาเซียน
ดำเนินรายการโดย
ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช และ ธีรทัศน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
แขกรับเชิญ คุณ จิระศักดิ์ เยาว์วัชสกุล ผู้อำนวยการสถาบัน ไทย
-เยอรมัน
ประเด็น         :         สถาบัน ไทย-เยอรมัน      ประวัติความเป็นมา
           
สถาบันไทย-เยอรมัน จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาล สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงสู่ภาคอุตสาหกรรมไทยการ ดำเนินงานของสถาบันฯ มีลักษณะการบริหารงานเป็นอิสระ และอยู่นอกระบบการศึกษาภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรมโดยมีอุตสาหกรรม พัฒนามูลนิธิมารองรับการดำเนินงาน   หลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการจัดตั้งเมื่อเดือนกันยายน 2535 สถาบันฯเริ่มเปิดสำนักงานในปี 2538 จนกระทั่งเริ่มให้มีบริการฝึกอบรมแก่ภาคอุตสาหกรรมครั้งแรกในเดือนมกราคม 2541 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สถาบันฯ ได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  
วิสัยทัศน์
            เป็นองค์กรนำระดับสากลในการยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีการผลิตของอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง
บริการด้านต่างๆของสถาบัน
1.      บริการด้านอุตสาหกรรม
·       ศูนย์เทคโนโลยีอัตโนมัติ
o    ออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรอัตโนมัติ
o   ออกแบบและพัฒนาระบบควบคุม
o   ออกแบบและแก้ปัญหาระบบไฮดรอลิก
o   งานทดสอบและตรวจสอบอุปกรณ์ไฮดรอลิก
o   ระบบควบคุมการเคลื่อนที่และการตรวจสอบคุณภาพงานด้วยกล้อง
·       ศูนย์เทคโนโลยีแม่พิมพ์
o   บริการวิเคราะห์การออกแบบแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปพลาสติกเพื่อให้ผู้ออกแบบแม่พิมพ์ฉีดขึ้นรูปพลาสติกและแม่พิมพ์ขึ้นรูปโลหะแผ่น ได้ทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น เพื่อช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
o   บริการผลิตชิ้นส่วนขนาดจิ๋ว การขึ้นรูปชิ้นส่วนที่มีขนาดจิ๋วด้วยเครื่องจักร 3D MICRO EDM MILLING ที่มีความเที่ยงตรง Position Accuracy น้อยกว่า + 1 Mricron, Surface น้อยกว่า Ra 0.1
สามารถผลิตชิ้นงานได้ ดังนี้
            • Micro Mechanice Part
            • Micro Mould
            • Micro Holes สามารถทำรูที่มีขนาดเล็กกว่า 20 Micron
·       ศูนย์เทคโนโลยีการผลิต
o   บริการงานอุตสาหกรรม ด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งช่างเทคนิค และวิศวกรที่มีความรู้ทักษะประสบการณ์ในงานต่างๆ ที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี ทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ในด้านคุณภาพ และระยะเวลาส่งมอบของการบริการ
·       บริการและพัฒนาอุตสาหกรรม
o   ศูนย์บริการและพัฒนาอุตสาหกรรม ให้บริการงานอุตสาหกรรมในด้านการผลิตชิ้นส่วนเครื่องกลที่มีความเที่ยงตรงสูง และรับผลิตชิ้นงานเครื่องมืออุปกรณ์ ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ตามแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยเน้นที่คุณภาพในราคาที่เหมาะสม และให้บริการเช่าเครื่องจักร เพื่อสนับสนุนการผลิตอีกด้วย นอกจากนี้ยังพรั่งพร้อมด้วยเครื่องจักร และเครื่องมือวัดละเอียด สำหรับรองรับความหลากหลายในการผลิตชิ้นงานรูปทรงต่างๆ ภายใต้ระบบคุณภาพ ISO 9001:2008

2.      บริการทดสอบและตรวจสอบอุปกรณ์ไฮดรอลิก
          เนื่องจากระบบ ไฮดรอลิกในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องจักรหลักซึ่ง ต้องการ การดูแลรักษาเป็นอย่างดีที่สุด ดังนั้น อุปกรณ์ระบบไฮดรอลิกที่จะนำมาติดตั้งใหม่ , เปลี่ยน หรือ ซ่อมนั้น ต้องมีระบบการตรวจสอบและทดสอบที่เชื่อถือได้ เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาที่ถูกต้องและลดการสูญเสียเนื่องจากการทำงาน ที่ผิดพลาดได้ การบริการ ได้แก่
1.ทดสอบอุปกรณ์ไฮดรอลิกที่ประกอบใหม่
2.ทดสอบอุปกรณ์ไฮดรอลิก หลังการซ่อมหรือเปลี่ยน อะไหล่           
3.ตรวจเช็คอุปกรณ์ไฮดรอลิก ที่คาดว่าจะมีปัญหา 
4.ทดสอบและปรับตั้ง อุปกรณ์ที่มีการควบคุมโดยระบบไฟฟ้าเช่น Proportional Valve, Servo Valve     
5.การทดสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการทำงาน ด้าน ความปลอดภัย
3.      บริการทดสอบวัสดุและงานเชื่อม
            ศูนย์ทดสอบวัสดุและงานเชื่อม สถาบันไทย-เยอรมัน ยินดีให้บริการงานอุตสาหกรรมในด้านการทดสอบวัสดุ และงานเชื่อม ด้วยเครื่องมือที่มีความทันสมัย ถูกต้อง เที่ยงตรง รวดเร็ว ในการรายงานผลทดสอบ พร้อมทั้ง วิศวกรและช่างเทคนิคควบคุมการทดสอบที่มีความเชี่ยวชาญในงานทดสอบวัสดุและงาน เชื่อมที่เป็นไปตาม มาตรฐานสากลและพร้อมที่จะให้คำแนะนำในด้านการควบคุมคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวิเคราะห์ ผลทดสอบ โดยเน้นที่คุณภาพ เป็นไปตามหลักการและสามารถปฏิบัติได้จริง ในราคาที่เหมาะสมและเป็นมาตรฐาน โดยทางห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 จึงมั่นใจได้ว่างานทดสอบ ของท่านที่มาถึงมือเรานั้นจะได้รับการทดสอบที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ ด้วยบริการแบบ One Stop Service และทีมงานที่เป็นมืออาชีพ.



มองเขาดูเรา_18-02-55_ภาวะอุตฯไฟฟ้า

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มองเขาดูเรา_11-02-55_การพัฒนาอุตฯพลาสติก



รายการ มองเขา ดูเรา รู้เท่า รู้ทัน
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555
สัมภาษณ์สด ผอ.เกรียงศักดิ์ วงพร้อมรัตน์ ผอ.สถาบันพลาสติกแห่งประเทศไทย
การจัดรายการวิทยุครั้งนี้มีใจความสำคัญอยู่ 4 ประการคือ
1.             ความหมายและความสำคัญของอุตสาหกรรมพลาสติก
-พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม นอกจากนี้ยังสามารถผลิตได้จากพืช อาทิเช่น อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น
- พลาสติกเป็นปัจจัยการผลิตตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย เช่นรถยนต์ อาหาร สิ่งทอ และอื่นๆ นอกจากนี้พลาสติกยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
       2. ประวัติความเป็นมาของสถาบันพลาสติก
               สถาบันพลาสติก เป็นสถาบันภายใต้อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ ลำดับที่ 9 กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่ง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก และการจัดตั้งสถาบันพลาสติก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2555
3.             แนวทางการพัฒนาการพลาสติกให้ย่อยสลายง่าย
ปัจจุบันมีหลายบริษัทตระหนักถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อม ได้มีการพัฒนาพลาสติกที่มีการย่อยสลายง่าย อาทิเช่น ขวดน้ำทิพย์ อีโค-ครัช ดื่มแล้วบิด ช่วยประหยัดพื้นที่เก็บและช่วยให้ย่อยสลายง่าย
4.             การปลูกฝั่งการใช้พลาสติกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การใช้พลาสติกต้องเริ่มต้นปลูกฝังจากผู้ผลิตและผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคมีวินัย ทิ้งขยะให้ถูกที่รู้จักคัดแยกขยะและเน้นนำกลับมาใช้ใหม่

มองเขาดูเรา_04-02-55_อุตสาหกรรมสีเขียว



“มองเขา ดูเรา รู้เท่า รู้ทัน”
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555
สัมภาษณ์ท่านอาจารย์วิกรม วัชรคุปต์  เรื่อง อุตสาหกรรมสีเขียว
                สีเขียว คือ สีที่อยู่ตรงกลางของรุ้งทั้ง 7 สี, สีของวันพุธเป็นตรงกลางของสัปดาห์ ดังนั้น สีเขียวจึงหมายถึง การรักษาสมดุลในด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความพอเพียงของในหลวง โดยสีเขียวมีนัยยะถึงความยั่งยืน จึงมีตัวชี้วัดตัวหนึ่ง คือ สิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย คือ ด้านเศรษฐกิจ และสังคม เพราะถ้าเศรษฐกิจและสังคมไม่ดีก็จะไม่สามารถดูแลสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นจึงต้องมีทั้ง 3 มิติซึ่งจะต้องเดินไปในทางเดียวกัน โดยสังเกตได้จากประเทศที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่ยากจน ส่วนประเทศที่เจริญเช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น จะมีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม เนื่องมาจากประเทศต่างๆเหล่านี้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีคนในประเทศจึงรุกล้ำสิ่งแวดล้อมน้อยลง เพราะถ้าไม่ดูแลสิ่งแวดล้อมเลยก็จะเกิดปัญหามลภาวะอย่างในประเทศในฝั่งยุโรปตะวันออก และประเทศจีนในบางพื้นที่ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืน
                ประเทศไทยยังอยู่ในขั้นต้นของอุตสาหกรรมสีเขียว เพราะเพิ่งมีการรณรงค์เรื่องนี้ได้ไม่นาน และประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรมากมาย จึงส่งผลให้คนไทยมีลักษณะติดสบาย แต่ในอนาคตเมื่อประชากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็จะเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
                การรณรงค์เรื่องอุตสาหกรรมสีเขียวในปัจจุบันเน้นไปในด้านการตลาด และการประชาสัมพันธ์เป็นส่วนมากเพราะเมื่อมีการใช้สัญลักษณ์ “กรีน” แล้วจะทำให้มองว่าเป็นของที่มีคุณค่า มีราคา จึงสามารถตั้งราคาที่สูงขึ้นได้ แต่ในเรื่องการทำให้เป็น “กรีน” จริงๆนั้นควรรมองให้ครบทุกด้านในทุกๆมุม เพื่อจะทำให้เกิดความยั่งยืน จึงต้องมีการมองถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรด้วย เพราะถ้าใช้ทรัพยากรอย่างไม่มีการควบคุมก็จะเกิดขยะและจะมีต้นทุนในการจัดการเพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าเรามีการวางแผนการใช้ทรัพยากรให้น้อยลงและหาระบบการบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ก็น่าที่จะเกิดประโยชน์มากกว่าและจะเป็นการลดต้นทุนลงด้วย
                อุปสรรคที่สำคัญในการมุ่งไปสู่ “กรีน” คือ
1.             ความรู้ความเข้าใจของสถานประกอบการ ที่จะต้องมีการศึกษา อบรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
2.             การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ที่ยังไม่มีการเชื่อมโยงกัน จึงควรมีการทำงานร่วมกัน