วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

มองเขาดูเราฯ_10-12-54_ดัชนีชี้นำ_Part2



ดัชนีชี้นำ ก็คล้ายๆกับการทำนายอนาคต แต่เป็นการทำนายอย่างมีหลักการ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ คือ 1. ข้อมูลที่ใช้ทำนายอนาคต 2. ข้อมูลที่บอกถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และ 3. ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากอดีต (ที่บอกว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแล้วจะเกิดเหตุการณ์อะไรตามมา)  ในการคัดเลือกตัวแปรเราจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งการคัดเลือกตัวแปรเหล่านี้จะสามารถอ้างอิงได้นานเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับผลการวิจัย ซึ่งถ้าผลการวิจัยออกมาว่าผลการชี้นำเป็นช่วงระยะเวลานาน เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็จะมีความผิดพลาดมากกว่าตัวชี้นำในช่วงระยะเวลาไม่นาน เช่น  3 เดือนหรือ 4 เดือน โดยตัวแปรชี้นำที่ดีควรมีช่วงระยะเวลาการชี้นำอยู่ที่ 2 – 4 เดือน โดยตัวแปรชี้นำที่องค์กรระดับโลกอย่าง OECD ได้จัดทำไว้คือชี้นำในช่วงเวลา 4 - 6 เดือน
ตัวแปรชี้นำที่น่าสนใจที่นำมาแนะนำในวันนี้คือ PMI : Purchasing Managers’ Index หรือก็คือดัชนี การจัดซื้อผู้จัดการ เป็นตัวแปรที่สำคัญมาก โดยจะบอกให้เราทราบถึงภาวการณ์ขยายตัวหรือหดตัวของการผลิตของโลก ซึ่งบริษัท JP Morgan ของสหรัฐฯเป็นผู้จัดทำโดยการเก็บข้อมูลจากโรงงาน 7,500 โรงจากทั่วโลก คิดแล้วมีการผลิตเป็น 86% ของทั้งโลก
ดัชนี PMI ในเดือนนี้(พ.ย.) ของทั้งโลกปรับตัวลดลงเหลือ 49.6 (โดยเกณฑ์มาตรฐานของ PMI ควรจะสูงกว่า 50 ) โดยเมื่อดูจากประเทศคู่ค้าสำคัญๆของไทย คือ สหรัฐฯ , สหภาพยุโรป , ญี่ปุ่น และจีน ก็มีการปรับตัวลดลงของ PMI เช่นเดียวกัน โดยมีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เกิดเกณฑ์มาตรฐานคือ 52.7 ส่วนประเทศอื่นๆนั้นต่ำกว่า 50 ทั้งหมด โดยเป็นผลมาจากดัชนีผลผลิต ,ดัชนีกรจัดซื้อ และดัชนีการจ้างงาน ได้มีการปรับตัวลดลง โดย
- สหรัฐฯ มีปัญหาได้ด้านการจ้างงาน เนื่องมาจาก City Group มีการลดจำนวนพนักงาน และภาคการผลิตที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่ก็มีแนวโน้นทรงตัวและเริ่มปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น
- สหภาพยุโรป มีปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้ประเทศสำคัญๆอย่างเยอรมัน , ฝรั่งเศส ,ไอร์แลนด์ ,อิตาลี และกรีซ ถูกลดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรทำให้ดัชนี PMI ปรับลดลง
- ญี่ปุ่น มีการส่งออกไปยังยุโรปเป็นสัดส่วนสูง เมื่อยุโรปมีปัญหาหนี้สาธารณะจึงส่งผลให้ส่งออกได้น้อยลง
- จีน มีดัชนีราคาผู้บริโภคที่ลดลง เนื่องมาจากราคาอาหารที่มีราคาลดลง และผลจากยุโรปที่ประสบปัญหาทำให้จีนส่งออกให้น้อยลง ดัชนี PMI ของจีนจึงปรับตัวลดลง
ดังนั้นผู้ประกอบการควรดูสัญญาณตางๆเหล่านี้เพิ่มเติม มากกว่าการใช้คำสั่งซื้อเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจและวางแผนการผลิตได้ดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: