วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

มองเขาดูเราฯ_24-12-54_บ้านน้ำท่วม_part2



แขกรับเชิญ อ.วิฒเนศ วงศ์วานิชวัฒนา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ประเด็น         :         กรณีที่บ้านโดนน้ำท่วมนานเป็นเดือน บ้านมีสิทธิ์ถล่มจากสาเหตุดินทรุดตัวหรือไม่
สรุป              :         ในความเป็นจริงโครงสร้างของบ้านไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับน้ำ โดยเฉพาะโครงสร้างของรั้ว การออกแบบรั้วจะออกแบบเพื่อให้อยู่ได้ และรับแรงดันของดินด้านข้างได้นิดหน่อยเท่านั้น ในกรณีที่เกิดน้ำท่วม น้ำที่สูงขึ้นแรงดันของน้ำจะมากขึ้นตามลำดับ ส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่เกิดการพังทลายของรั้ว เพราะเกิดรอยรั่วแล้วมีการอุดไว้ ในส่วนของบ้าน ซึ่งโครงสร้างบ้านบางส่วนเป็นงานปูน แต่บางส่วนไม่ใช่งานปูน เช่น พนังก่อ กระเบื้อง พื้น เป็นต้น โครงสร้างหลักจริงๆ คือ คอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการก่อสร้างส่วนใหญ่จะประกอบด้วย พื้น คาน เสา จนถึงตอม่อ ลงไปที่ฐานล่าง กรณีที่น่ากังวล คือ ความอันตรายของบ้านที่อยู่บนฐานล่างที่มีเสาเข็มต้นเดียว ถ้าการทำเสาเข็มของบ้านไม่มีความเสถียรจะทำให้ดินบริเวณรอบบ้านไหลได้ บ้านที่มีขาดใหญ่จะมีเสาเข็ม 2 ต้น จะมีความเสถียรมาก ในกรณีที่มีการไหลของดิน จะพบเห็นได้ในกรณีที่บริเวณบ้านในรัศมี 10 เมตร มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งปกติดินจะมีส่วนผสมของน้ำอยู่แล้วระดับหนึ่ง ถ้าไม่มีอะไรมารบกวนดินจะระบายน้ำตามวงจรความเสถียร  แต่อย่างไรก็ตามก่อนมีการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงความพร้อมของสภาพดิน กรณีที่เกิดน้ำท่วมขั้นแรกต้องดูก่อนว่าดินมีการสไลด์หรือไม่ โดยให้ดูระดับของดินบริเวณรอบๆบ้าน ว่ามีการเปลี่ยนไปหรือไม่ เช่น มีการทรุดตัวลง 1-2 เซนติเมตร หรือ มีการสไลด์จากซ้ายไปขวา ซึ่งหมายความว่าสภาพดินถูกรบกวน ขั้นต่อมาให้ดูโครงสร้างของบ้านว่ามีการขยับหรือไม่ โดยดูว่าเกิดรอยร้าวของตัวคานที่อยู่ใกล้พื้น เช่น คานคอดินว่ามีรอยปริ รอยแยกหรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้ในระยะสั้น ถึงระยะกลาง            
          ในระยะสั้น
·             น้ำลดเร็วจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในดินเร็วขึ้น จะมีผลในแง่ความแข็งแรงในดินระดับหนึ่ง แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในดินมีระยะเวลานานให้ดูโอกาสของน้ำที่ไปค้างในโครงสร้างของบ้าน
·             หากเกิดดินสไลด์ให้ดูว่าโครงสร้างของบ้านมีการขยับหรือไม่ ถ้าไม่มีการขยับแสดงว่าโครงสร้างยังไม่ได้รับความกระทบกระเทือน เป็นเพียงดินสไลด์ธรรมดาเท่านั้นไม่ได้ทำให้โครงส้รางเสียหาย
·             ดูว่าโครงสร้างของพื้นที่แช่น้ำอยู่ว่ามีโอกาสที่น้ำจะแทรกไปข้างในโครงสร้างหรือไม่ ซึ่งน้ำที่แทรกเข้าไปจนถึงเหล็กจะทำให้เกิดสนิมเหล็ก ถ้าไม่มีรอยแยกก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
ในระยะกลาง ( ระยะเวลา 1 เดือน )
·             ถ้ามีสนิมในโครงสร้าง โครงสร้างจะแสดงพฤติกรรมจากโครงสร้างตรงเป็นโครงสร้างที่มีบิดแอ่นตามแรงดันของน้ำจะมีการเผยอด้านที่โดนน้ำผลักออก ( แสดงว่ามีน้ำแทรกเข้าไป ) เมื่อมีสนิมเหล็กเกิดขึ้นจะเป็นการเพิ่มปริมาตรของตัวโครงสร้างที่อยู่ใกล้เหล็ก
·             ถ้าโครงสร้างใหญ่ คอนกรีตหุ้มเหล็กจะหนากว่าโอกาสที่น้ำเข้าไปถึงโครงสร้างเหล็กจะน้อยกว่า โครงสร้างจะไม่บิดแอ่น มีความปลอดภัย
จุดที่ควรสังเกตุ
·             ดูตามรอยแยกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โคนเสา บริเวณก่อนเข้าบ้าน  ปัจจัยแรกคือถ้ามีน้ำขึ้นลง ทำให้ดินยุบตัวไป เป็นสาเหตุทำให้ดินคลื่อนตัวทำให้ฐานล่างเคลื่อน
·             กรณีที่เป็นเสาบ้าน  โดยพฤติกรรมถ้าโครงสร้างบ้านขยับจะเกิดรอยแยกระหว่างขอบของเสากับคาน ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากด้านบน จะแสดงอาการที่ผนังก่อนถ้าไม่มีอาการ ให้เปิดใต้ดินตรงที่น้ำแช่อยู่ว่ามีช่องเปิดที่ทำให้น้ำเข้าไปถึงตัวโรงสร้างได้หรือไม่ถ้ามีน้ำเข้าไปถึงโครงสร้างจะสังเกตุได้จากน้ำที่มีคราบสนิมซึมออกมา
o   ขั้นต้นถ้าโครงสร้างไม่ขยับรีบกลุยทางเข้าไปให้เห็นว่ามีช่องที่น้ำเข้าไปถึงโครงสร้างหรือไม่ ถ้าน้ำเข้าไปจะทำให้โครงสร้างเกิดสนิม
หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ
o   วิศวกรรมสถาน
o   สายอาชีวะ 1156
การเตรียมรับมือกับสถานการณ์
1.      ศึกษาโครงสร้างของบ้าน เช่น ท่อน้ำเข้า-ออก ที่น้ำสามารถเข้ามาได้
2.      ยอมให้น้ำเข้ามาในระดับหนึ่ง ประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกั้นบริเวณกักน้ำไว้เพื่อให้แรงดันของน้ำช่วยยันกัน และเพื่อไม่ให้ระดับของน้ำต่างกันเกินไป ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยได้ถึง 1.5 เมตร

มองเขาดูเราฯ_24-12-54_บ้านน้ำท่วม_part1



แขกรับเชิญ อ.วิฒเนศ วงศ์วานิชวัฒนา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
ประเด็น         :         กรณีที่บ้านโดนน้ำท่วมนานเป็นเดือน บ้านมีสิทธิ์ถล่มจากสาเหตุดินทรุดตัวหรือไม่
สรุป              :         ในความเป็นจริงโครงสร้างของบ้านไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รับน้ำ โดยเฉพาะโครงสร้างของรั้ว การออกแบบรั้วจะออกแบบเพื่อให้อยู่ได้ และรับแรงดันของดินด้านข้างได้นิดหน่อยเท่านั้น ในกรณีที่เกิดน้ำท่วม น้ำที่สูงขึ้นแรงดันของน้ำจะมากขึ้นตามลำดับ ส่วนใหญ่ประมาณ 90% ที่เกิดการพังทลายของรั้ว เพราะเกิดรอยรั่วแล้วมีการอุดไว้ ในส่วนของบ้าน ซึ่งโครงสร้างบ้านบางส่วนเป็นงานปูน แต่บางส่วนไม่ใช่งานปูน เช่น พนังก่อ กระเบื้อง พื้น เป็นต้น โครงสร้างหลักจริงๆ คือ คอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการก่อสร้างส่วนใหญ่จะประกอบด้วย พื้น คาน เสา จนถึงตอม่อ ลงไปที่ฐานล่าง กรณีที่น่ากังวล คือ ความอันตรายของบ้านที่อยู่บนฐานล่างที่มีเสาเข็มต้นเดียว ถ้าการทำเสาเข็มของบ้านไม่มีความเสถียรจะทำให้ดินบริเวณรอบบ้านไหลได้ บ้านที่มีขาดใหญ่จะมีเสาเข็ม 2 ต้น จะมีความเสถียรมาก ในกรณีที่มีการไหลของดิน จะพบเห็นได้ในกรณีที่บริเวณบ้านในรัศมี 10 เมตร มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งปกติดินจะมีส่วนผสมของน้ำอยู่แล้วระดับหนึ่ง ถ้าไม่มีอะไรมารบกวนดินจะระบายน้ำตามวงจรความเสถียร  แต่อย่างไรก็ตามก่อนมีการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงความพร้อมของสภาพดิน กรณีที่เกิดน้ำท่วมขั้นแรกต้องดูก่อนว่าดินมีการสไลด์หรือไม่ โดยให้ดูระดับของดินบริเวณรอบๆบ้าน ว่ามีการเปลี่ยนไปหรือไม่ เช่น มีการทรุดตัวลง 1-2 เซนติเมตร หรือ มีการสไลด์จากซ้ายไปขวา ซึ่งหมายความว่าสภาพดินถูกรบกวน ขั้นต่อมาให้ดูโครงสร้างของบ้านว่ามีการขยับหรือไม่ โดยดูว่าเกิดรอยร้าวของตัวคานที่อยู่ใกล้พื้น เช่น คานคอดินว่ามีรอยปริ รอยแยกหรือไม่ ซึ่งสามารถดูได้ในระยะสั้น ถึงระยะกลาง            
          ในระยะสั้น
·             น้ำลดเร็วจะมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในดินเร็วขึ้น จะมีผลในแง่ความแข็งแรงในดินระดับหนึ่ง แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำในดินมีระยะเวลานานให้ดูโอกาสของน้ำที่ไปค้างในโครงสร้างของบ้าน
·             หากเกิดดินสไลด์ให้ดูว่าโครงสร้างของบ้านมีการขยับหรือไม่ ถ้าไม่มีการขยับแสดงว่าโครงสร้างยังไม่ได้รับความกระทบกระเทือน เป็นเพียงดินสไลด์ธรรมดาเท่านั้นไม่ได้ทำให้โครงส้รางเสียหาย
·             ดูว่าโครงสร้างของพื้นที่แช่น้ำอยู่ว่ามีโอกาสที่น้ำจะแทรกไปข้างในโครงสร้างหรือไม่ ซึ่งน้ำที่แทรกเข้าไปจนถึงเหล็กจะทำให้เกิดสนิมเหล็ก ถ้าไม่มีรอยแยกก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
ในระยะกลาง ( ระยะเวลา 1 เดือน )
·             ถ้ามีสนิมในโครงสร้าง โครงสร้างจะแสดงพฤติกรรมจากโครงสร้างตรงเป็นโครงสร้างที่มีบิดแอ่นตามแรงดันของน้ำจะมีการเผยอด้านที่โดนน้ำผลักออก ( แสดงว่ามีน้ำแทรกเข้าไป ) เมื่อมีสนิมเหล็กเกิดขึ้นจะเป็นการเพิ่มปริมาตรของตัวโครงสร้างที่อยู่ใกล้เหล็ก
·             ถ้าโครงสร้างใหญ่ คอนกรีตหุ้มเหล็กจะหนากว่าโอกาสที่น้ำเข้าไปถึงโครงสร้างเหล็กจะน้อยกว่า โครงสร้างจะไม่บิดแอ่น มีความปลอดภัย
จุดที่ควรสังเกตุ
·             ดูตามรอยแยกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น โคนเสา บริเวณก่อนเข้าบ้าน  ปัจจัยแรกคือถ้ามีน้ำขึ้นลง ทำให้ดินยุบตัวไป เป็นสาเหตุทำให้ดินคลื่อนตัวทำให้ฐานล่างเคลื่อน
·             กรณีที่เป็นเสาบ้าน  โดยพฤติกรรมถ้าโครงสร้างบ้านขยับจะเกิดรอยแยกระหว่างขอบของเสากับคาน ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากด้านบน จะแสดงอาการที่ผนังก่อนถ้าไม่มีอาการ ให้เปิดใต้ดินตรงที่น้ำแช่อยู่ว่ามีช่องเปิดที่ทำให้น้ำเข้าไปถึงตัวโรงสร้างได้หรือไม่ถ้ามีน้ำเข้าไปถึงโครงสร้างจะสังเกตุได้จากน้ำที่มีคราบสนิมซึมออกมา
o   ขั้นต้นถ้าโครงสร้างไม่ขยับรีบกลุยทางเข้าไปให้เห็นว่ามีช่องที่น้ำเข้าไปถึงโครงสร้างหรือไม่ ถ้าน้ำเข้าไปจะทำให้โครงสร้างเกิดสนิม
หน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ
o   วิศวกรรมสถาน
o   สายอาชีวะ 1156
การเตรียมรับมือกับสถานการณ์
1.      ศึกษาโครงสร้างของบ้าน เช่น ท่อน้ำเข้า-ออก ที่น้ำสามารถเข้ามาได้
2.      ยอมให้น้ำเข้ามาในระดับหนึ่ง ประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกั้นบริเวณกักน้ำไว้เพื่อให้แรงดันของน้ำช่วยยันกัน และเพื่อไม่ให้ระดับของน้ำต่างกันเกินไป ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยได้ถึง 1.5 เมตร

มองเขาดูเราฯ_17-12-54_ชิ้นส่วนอิเล็ก_Part2

มองเขาดูเราฯ_17-12-54_ชิ้นส่วนอิเล็ก_Part1


สัมภาษณ์สด
นายธนากร  ชาวนาแก้ว( Mr Thanakorn Chaonakaew)
ตำแหน่ง Managing microwave technology corporation
บริษัท MTC
                รายการวิทยุสะกดรอยอุตสาหกรรม ช่วงเตือนภัยอุตสาหกรรมไทยในอาเซียน เป็นการสัมภาษณ์สดท่านธนากรณ์ ธนาแก้ว Managing microwave technology coporation บริษัท MTCในนิคมอุตสาหกรรม วังน้อย แฟคตอรี่แลนด์  ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ประกอบในเครื่องมือสื่อสาร อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ผลิตและส่งออก100% ทั้งสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น วิกฤติการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในปี พ. 2554 บริษัท MTC เป็นบริษัทหนึ่งที่โดนน้ำท่วม และได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งนี้รวมมี มูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท  ทำให้บริษัทต้องไปขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อนำมาฟื้นฟู ซ่อมแซมเครื่องจักรที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัท สาเหตุหลักเป็นเพราะการขาดการสื่อสารของผู้นำท้องถิ่นที่ไม่ประสานกัน ประเด็นที่บริษัทอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือมีดังนี้

1.             อยากให้รัฐบาลหาวิธีทางจัดการน้ำอย่างถูกต้องถูกวิธี เพื่อไม่ให้น้ำท่วมอีก เช่น การสร้างอุโมงค์ระบายน้ำยักษ์
2.             รัฐบาลจะต้องให้ความช่วยเหลือกับบริษัทที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ตามสัดส่วนความเสียหาย

มองเขาดูเราฯ_10-12-54_ดัชนีชี้นำ_Part2



ดัชนีชี้นำ ก็คล้ายๆกับการทำนายอนาคต แต่เป็นการทำนายอย่างมีหลักการ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ คือ 1. ข้อมูลที่ใช้ทำนายอนาคต 2. ข้อมูลที่บอกถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และ 3. ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากอดีต (ที่บอกว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแล้วจะเกิดเหตุการณ์อะไรตามมา)  ในการคัดเลือกตัวแปรเราจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งการคัดเลือกตัวแปรเหล่านี้จะสามารถอ้างอิงได้นานเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับผลการวิจัย ซึ่งถ้าผลการวิจัยออกมาว่าผลการชี้นำเป็นช่วงระยะเวลานาน เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็จะมีความผิดพลาดมากกว่าตัวชี้นำในช่วงระยะเวลาไม่นาน เช่น  3 เดือนหรือ 4 เดือน โดยตัวแปรชี้นำที่ดีควรมีช่วงระยะเวลาการชี้นำอยู่ที่ 2 – 4 เดือน โดยตัวแปรชี้นำที่องค์กรระดับโลกอย่าง OECD ได้จัดทำไว้คือชี้นำในช่วงเวลา 4 - 6 เดือน
ตัวแปรชี้นำที่น่าสนใจที่นำมาแนะนำในวันนี้คือ PMI : Purchasing Managers’ Index หรือก็คือดัชนี การจัดซื้อผู้จัดการ เป็นตัวแปรที่สำคัญมาก โดยจะบอกให้เราทราบถึงภาวการณ์ขยายตัวหรือหดตัวของการผลิตของโลก ซึ่งบริษัท JP Morgan ของสหรัฐฯเป็นผู้จัดทำโดยการเก็บข้อมูลจากโรงงาน 7,500 โรงจากทั่วโลก คิดแล้วมีการผลิตเป็น 86% ของทั้งโลก
ดัชนี PMI ในเดือนนี้(พ.ย.) ของทั้งโลกปรับตัวลดลงเหลือ 49.6 (โดยเกณฑ์มาตรฐานของ PMI ควรจะสูงกว่า 50 ) โดยเมื่อดูจากประเทศคู่ค้าสำคัญๆของไทย คือ สหรัฐฯ , สหภาพยุโรป , ญี่ปุ่น และจีน ก็มีการปรับตัวลดลงของ PMI เช่นเดียวกัน โดยมีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เกิดเกณฑ์มาตรฐานคือ 52.7 ส่วนประเทศอื่นๆนั้นต่ำกว่า 50 ทั้งหมด โดยเป็นผลมาจากดัชนีผลผลิต ,ดัชนีกรจัดซื้อ และดัชนีการจ้างงาน ได้มีการปรับตัวลดลง โดย
- สหรัฐฯ มีปัญหาได้ด้านการจ้างงาน เนื่องมาจาก City Group มีการลดจำนวนพนักงาน และภาคการผลิตที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่ก็มีแนวโน้นทรงตัวและเริ่มปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น
- สหภาพยุโรป มีปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้ประเทศสำคัญๆอย่างเยอรมัน , ฝรั่งเศส ,ไอร์แลนด์ ,อิตาลี และกรีซ ถูกลดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรทำให้ดัชนี PMI ปรับลดลง
- ญี่ปุ่น มีการส่งออกไปยังยุโรปเป็นสัดส่วนสูง เมื่อยุโรปมีปัญหาหนี้สาธารณะจึงส่งผลให้ส่งออกได้น้อยลง
- จีน มีดัชนีราคาผู้บริโภคที่ลดลง เนื่องมาจากราคาอาหารที่มีราคาลดลง และผลจากยุโรปที่ประสบปัญหาทำให้จีนส่งออกให้น้อยลง ดัชนี PMI ของจีนจึงปรับตัวลดลง
ดังนั้นผู้ประกอบการควรดูสัญญาณตางๆเหล่านี้เพิ่มเติม มากกว่าการใช้คำสั่งซื้อเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจและวางแผนการผลิตได้ดีขึ้น

มองเขาดูเราฯ_10-12-54_ดัชนีชี้นำ_Part1




ดัชนีชี้นำ ก็คล้ายๆกับการทำนายอนาคต แต่เป็นการทำนายอย่างมีหลักการ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการตัดสินใจจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ คือ 1. ข้อมูลที่ใช้ทำนายอนาคต 2. ข้อมูลที่บอกถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน และ 3. ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากอดีต (ที่บอกว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแล้วจะเกิดเหตุการณ์อะไรตามมา)  ในการคัดเลือกตัวแปรเราจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งการคัดเลือกตัวแปรเหล่านี้จะสามารถอ้างอิงได้นานเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับผลการวิจัย ซึ่งถ้าผลการวิจัยออกมาว่าผลการชี้นำเป็นช่วงระยะเวลานาน เช่น 6 เดือน หรือ 12 เดือน ก็จะมีความผิดพลาดมากกว่าตัวชี้นำในช่วงระยะเวลาไม่นาน เช่น  3 เดือนหรือ 4 เดือน โดยตัวแปรชี้นำที่ดีควรมีช่วงระยะเวลาการชี้นำอยู่ที่ 2 – 4 เดือน โดยตัวแปรชี้นำที่องค์กรระดับโลกอย่าง OECD ได้จัดทำไว้คือชี้นำในช่วงเวลา 4 - 6 เดือน
ตัวแปรชี้นำที่น่าสนใจที่นำมาแนะนำในวันนี้คือ PMI : Purchasing Managers’ Index หรือก็คือดัชนี การจัดซื้อผู้จัดการ เป็นตัวแปรที่สำคัญมาก โดยจะบอกให้เราทราบถึงภาวการณ์ขยายตัวหรือหดตัวของการผลิตของโลก ซึ่งบริษัท JP Morgan ของสหรัฐฯเป็นผู้จัดทำโดยการเก็บข้อมูลจากโรงงาน 7,500 โรงจากทั่วโลก คิดแล้วมีการผลิตเป็น 86% ของทั้งโลก
ดัชนี PMI ในเดือนนี้(พ.ย.) ของทั้งโลกปรับตัวลดลงเหลือ 49.6 (โดยเกณฑ์มาตรฐานของ PMI ควรจะสูงกว่า 50 ) โดยเมื่อดูจากประเทศคู่ค้าสำคัญๆของไทย คือ สหรัฐฯ , สหภาพยุโรป , ญี่ปุ่น และจีน ก็มีการปรับตัวลดลงของ PMI เช่นเดียวกัน โดยมีเพียงสหรัฐฯ เท่านั้นที่เกิดเกณฑ์มาตรฐานคือ 52.7 ส่วนประเทศอื่นๆนั้นต่ำกว่า 50 ทั้งหมด โดยเป็นผลมาจากดัชนีผลผลิต ,ดัชนีกรจัดซื้อ และดัชนีการจ้างงาน ได้มีการปรับตัวลดลง โดย
- สหรัฐฯ มีปัญหาได้ด้านการจ้างงาน เนื่องมาจาก City Group มีการลดจำนวนพนักงาน และภาคการผลิตที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่ก็มีแนวโน้นทรงตัวและเริ่มปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น
- สหภาพยุโรป มีปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้ประเทศสำคัญๆอย่างเยอรมัน , ฝรั่งเศส ,ไอร์แลนด์ ,อิตาลี และกรีซ ถูกลดลำดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรทำให้ดัชนี PMI ปรับลดลง 
- ญี่ปุ่น มีการส่งออกไปยังยุโรปเป็นสัดส่วนสูง เมื่อยุโรปมีปัญหาหนี้สาธารณะจึงส่งผลให้ส่งออกได้น้อยลง
- จีน มีดัชนีราคาผู้บริโภคที่ลดลง เนื่องมาจากราคาอาหารที่มีราคาลดลง และผลจากยุโรปที่ประสบปัญหาทำให้จีนส่งออกให้น้อยลง ดัชนี PMI ของจีนจึงปรับตัวลดลง
ดังนั้นผู้ประกอบการควรดูสัญญาณตางๆเหล่านี้เพิ่มเติม มากกว่าการใช้คำสั่งซื้อเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจและวางแผนการผลิตได้ดีขึ้น