วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2556

Morning Talk_Check up อุตสาหกรรมไทยในตลาด BRICS


Morning Talk
Check Up อุตสาหกรรมไทยในตลาด BRICS

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความได้เปรียบทางการค้าสินค้าอุตมาหกรรมของประเทศอาเซียน 5 ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในตลาด BRICS และเป็นการศึกษาความได้เปรียบของสิค้าอุตสาหกรรมในระบบฮาโมไนซ์ 2 หลัก
ประชากรของจีนและอินเดียจะก่อให้เกิดชนชั้นกลางขนาดใหญ่ที่มีปริมาณการบริโภคมาก ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของ BRICS และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
 ภาพรวมการค้าของ BRICS  
การส่งออกสินค้าทั้งหมดของ BRICS จากปี พ.ศ. 2552-2554 มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง  โดยสินค้าของ BRICS ส่งออก ในปี 2554 นั้น เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 93.54 %  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 22.35%  เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ 28.48 % และเครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์  14.90% ตามลำดับ
ตลาดส่งออกสินค้าที่สำคัญของ อ BRICS ตลาดส่งออกส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในสหรัฐอเมริกา  แต่ถ้ามองในอาเซียนจะเป็นประเทศสิงคโปร์ รองลงมาเป็นประเทศไทย
สินค้านำเข้าที่สำคัญของ BRICS ปี พ.ศ.2554 เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 92.44 %  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 18.28 %  เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์  16.71 % และเชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่  7.82 % ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญของ BRICS ส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศฮ่องกง รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น แต่ถ้ามองในอาเซียนจะเป็นประเทศสิงคโปร์ รองลงมาเป็นประเทศมาเลเซีย
ภาพรวมการค้าระหว่างอาเซียนกับ BRICS
สินค้าส่งออกของอาเซียนไปยังตลาด BRICS ปี 2554 เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 86.34 % สินค้าหลัก คือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 23.55  %  เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์  19.17 % และเชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่  14.58 % ตามลำดับสินค้านำเข้าของอาเซียนไปยังตลาด BRICS ปี 2554 เป็นสินค้าอุตสาหกรรม  91.86 % สินค้าหลัก คือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 24.36 %  เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์  18.66  % และเชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่  15.52 % ตามลำดับ
วิธีการศึกษา
โดยใช้การวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage : RCA)


ผลการศึกษา
Ø  การส่งออกของอินโดนีเซียไปยังตลาด ของ BRICS 
เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 74.02 %  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่  45.97 %  สินแร่ 12.98 %  ผลิตภัณฑ์จากยางพารา 10.04 %  ตามลำดับ
ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของอินโดนีเซียในตลาด BRICS
เกณฑ์ที่ 1 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นใน 3 อันดับแรกคือ สินแร่ 9.61 %  เคมีภัณฑ์อินทรีย์ 4.40 % เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 1.56 %  ตามลำดับ เกณฑ์ที่ 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบลดลง 3 อันดับแรกคือ เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ 34.02%  ผลิตภัณฑ์จากยางพารา 7.43 %  และเยื้อไม้หรือเยื้อที่ได้จากวัตถุจำพวกเส้นใยเซลลูโลสอื่นๆ 2.38 %  เกณฑ์ที่ 3 กลุ่มแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น 3 อันดับแรกคือ ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 0.96% เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 0.95%  และยานยนต์และส่วนประกอบ 0.63 %  เกณฑ์ที่ 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง 3 อันดับแรกคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 2.04%  ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง/รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ 1.30% และพลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก 0.96 % ตามลำดับ
Ø  ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของสิงคโปร์ไปยังตลาด ของ BRICS 
เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 96.42 %  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 34.22% เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่  19.70 %  และเครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 15.60 %  ตามลำดับ
ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของสิงคโปร์ในตลาด BRICS
เกณฑ์ที่ 1 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นใน 3 อันดับแรกคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 32.99 %   เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ 19.00 % และพลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก 7.12 % ตามลำดับ เกณฑ์ที่ 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบคือ เรือและสิ่งก่อสร้างลอยน้ำ 0.94%  เกณฑ์ที่ 3 กลุ่มแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น 3 อันดับแรกคือ เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 15.04  %  อากาศยาน/ยานอวกาศ 1.09% และผลิตภัณฑ์จากยางพารา 0.75 %   เกณฑ์ที่ 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง 3 อันดับแรกคือ  อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ 2.73 %  ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 0.84 % เครื่องแต่งกายและของที่ใช้ประกอบที่ไม่ได้ถักแบบนิดหรือแบบโครเชต์  0.14 % ตามลำดับ
Ø  การส่งออกของมาเลเซียไปยังตลาด ของ BRICS 
เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 81.92 %  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 35.28 % เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 14.87 %  และ เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่  12.32 %  ตามลำดับ


ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของมาเลเซียในตลาด BRICS
เกณฑ์ที่ 1 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นใน 3 อันดับแรกคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 28.9%   ผลิตภัณฑ์จากยางพารา 9.45% และเคมีภัณฑ์อินทรย์ 3.92% ตามลำดับ เกณฑ์ที่ 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบ3 อันดับแรกคือ เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ 10.09%  ไม้และของทำด้วยไม้ 1.74% สบู่/ไขเทียม/ไขปรุงแต่ง/ไขที่ใช้ทางทันตกรรม 0.43 % เกณฑ์ที่ 3 กลุ่มแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น 3 อันดับแรกคือ เทองแดงและของทำด้วยทองแดง 1.11%  เคมีภัณฑ์อนินทรีย์ 0.28% และแก้วและเครื่องแก้ว0.23 %   เกณฑ์ที่ 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง 3 อันดับแรกคือ  เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 12.18 %  พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก 3.15% อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ 1.51 % ตามลำดับ
Ø  การส่งออกของฟิลิปปินส์ไปยังตลาด ของ BRICS
เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 73.16%  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 41.15%  เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 22.86% และ สินแร่ 8.85 % ตามลำดับ
ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของฟิลิปปินส์ในตลาด BRICS
เกณฑ์ที่ 1 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นใน 3 อันดับแรกคือ เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 30.11%   สินแร่ 6.47% และทองแดงและของทำด้วยทองแดง 4.82 % ตามลำดับ เกณฑ์ที่ 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบคือ ผลิตภัณฑ์ทำด้วยฟาง/วัตถุถักสารอื่นๆ/เครื่องจักรสาร 0.01%   เกณฑ์ที่ 3 กลุ่มแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น 3 อันดับแรกคือ เชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ 2.63%  ผลิตภัณฑ์จากยางพารา 0.47% และเหล็กและเหล็กกล้า0.16 %   เกณฑ์ที่ 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง 3 อันดับแรกคือ  เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 16.72%  ยานยานยนต์และส่วนประกอบ 2.81% และพลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก 1.85 % ตามลำดับ
Ø  การส่งออกของไทยไปยังตลาดของ BRICS 
เป็นสินค้าอุตสาหกรรม 90.89%  โดยมีสินค้า 3 อันดับแรกที่เป็นสินค้าหลักคือ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา 22.84%  เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 20.41% และเครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า11.53 % ตามลำดับ
ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกของไทยในตลาด BRICS
เกณฑ์ที่ 1 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นใน 3 อันดับแรกคือ ผลิตภัณฑ์จากยางพารา 20.76%   พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก 9.57% และเคมีภัณฑ์อินทรีย์ 8.51 % ตามลำดับ เกณฑ์ที่ 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบ3 อันดับแรกคือ เครื่องจักร/เครื่องกล/บอยเลอร์ 18.55% ใยยาวประดิษฐ์ 0.47 % และแวดดิ้ง สักหลาดและผ้าไม่ทอ 0.12% เกณฑ์ที่ 3 กลุ่มแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น 3 อันดับแรกคือ เครื่องจักรไฟฟ้า/อุปกรณ์ไฟฟ้า 10.48%  ยานยนต์และส่วนประกอบ 4.50% และเชื้อเพลิงจากแร่/น้ำมันแร่ 3.35 %   เกณฑ์ที่ 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง 3 อันดับแรกคือ  ไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง/รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ 1.66%  อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ 1.39% และของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า 0.88 % ตามลำดับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สะกดรอยฯ_Check Up ยางและเคมีภัณฑ์ฯ หลัง AEC



Morning Talk
เรื่อง “Check Up อุตสาหกรรมยางพารา และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หลัง AEC”
วันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 10.30 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 202 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

นำเสนอโดย
นายอิทธิชัย ยศศรี
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

1. สรุปผลการศึกษา
Check Up อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หลัง AEC  เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันสินค้าอุตสาหกรรมในหมวดรหัส HS 40 และ HS 29 หลัง AEC ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ โดยวิเคราะห์เป็นรายสินค้าในระบบฮาร์โมไนซ์ 4 หลัก ซึ่งวิเคราะห์จากดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage: RCA) โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งสินค้า 6 เกณฑ์ คือ
เกณฑ์ 1  หมายถึง       มีความได้เปรียบมากขึ้น (จากเดิมที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว)
          เกณฑ์ 2  หมายถึง       มีความได้เปรียบลดลง (จากเดิมที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว)
          เกณฑ์ 3  หมายถึง       สูญเสียความได้เปรียบ (จากเดิมที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว)
เกณฑ์ 4  หมายถึง       มีความเสียเปรียบมากขึ้น (จากเดิมที่มีความเสียเปรียบอยู่แล้ว)
เกณฑ์ 5  หมายถึง       มีความเสียเปรียบลดลง (จากเดิมที่มีความเสียเปรียบอยู่แล้ว)
เกณฑ์ 6  หมายถึง       ได้รับความได้เปรียบ (จากเดิมที่มีความเสียเปรียบอยู่แล้ว)        
ผลการศึกษาในส่วนของสินค้ายางพารา พบว่า ประเทศที่มีสินค้าอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาที่สูงที่สุดในอาเซียน (เกณฑ์ 2, 3 และ 4) คือ ประเทศอินโดนีเซีย มี 15 รายการ คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าส่งออกร้อยละ 97.67 ส่วนประเทศไทยมี  8 รายการ คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 71.40 ขณะที่ประเทศมาเลเซียมีสินค้าที่อยู่ในกลุ่มต้องรับการพิจารณาน้อยที่สุดเพียง 4 รายการ และมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 6.84
ส่วนสินค้าเคมีภัณฑ์อินทรีย์ พบว่า ประเทศที่มีสินค้าอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาที่สูงที่สุดในอาเซียน คือ ประเทศอินโดนีเซียเช่นกัน โดยมีทั้งสิ้น 29 รายการ แต่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 40.37 ขณะที่ประเทศไทยมีน้อยที่สุดเพียง 19 รายการ แต่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงถึงร้อยละ 75.51 ส่วนประเทศฟิลิปปินส์มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่ต้องพิจารณาน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 1.05