วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สะกดรอยฯ_Check Up ยางและเคมีภัณฑ์ฯ หลัง AEC



Morning Talk
เรื่อง “Check Up อุตสาหกรรมยางพารา และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หลัง AEC”
วันจันทร์ที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 10.30 12.00 น.
ณ ห้องประชุม 202 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

นำเสนอโดย
นายอิทธิชัย ยศศรี
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
สำนักงานเศรษฐกิจอุสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

1. สรุปผลการศึกษา
Check Up อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์ หลัง AEC  เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันสินค้าอุตสาหกรรมในหมวดรหัส HS 40 และ HS 29 หลัง AEC ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ โดยวิเคราะห์เป็นรายสินค้าในระบบฮาร์โมไนซ์ 4 หลัก ซึ่งวิเคราะห์จากดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage: RCA) โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งสินค้า 6 เกณฑ์ คือ
เกณฑ์ 1  หมายถึง       มีความได้เปรียบมากขึ้น (จากเดิมที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว)
          เกณฑ์ 2  หมายถึง       มีความได้เปรียบลดลง (จากเดิมที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว)
          เกณฑ์ 3  หมายถึง       สูญเสียความได้เปรียบ (จากเดิมที่มีความได้เปรียบอยู่แล้ว)
เกณฑ์ 4  หมายถึง       มีความเสียเปรียบมากขึ้น (จากเดิมที่มีความเสียเปรียบอยู่แล้ว)
เกณฑ์ 5  หมายถึง       มีความเสียเปรียบลดลง (จากเดิมที่มีความเสียเปรียบอยู่แล้ว)
เกณฑ์ 6  หมายถึง       ได้รับความได้เปรียบ (จากเดิมที่มีความเสียเปรียบอยู่แล้ว)        
ผลการศึกษาในส่วนของสินค้ายางพารา พบว่า ประเทศที่มีสินค้าอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาที่สูงที่สุดในอาเซียน (เกณฑ์ 2, 3 และ 4) คือ ประเทศอินโดนีเซีย มี 15 รายการ คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าส่งออกร้อยละ 97.67 ส่วนประเทศไทยมี  8 รายการ คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าการส่งออกร้อยละ 71.40 ขณะที่ประเทศมาเลเซียมีสินค้าที่อยู่ในกลุ่มต้องรับการพิจารณาน้อยที่สุดเพียง 4 รายการ และมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 6.84
ส่วนสินค้าเคมีภัณฑ์อินทรีย์ พบว่า ประเทศที่มีสินค้าอยู่ในกลุ่มที่มีปัญหาที่สูงที่สุดในอาเซียน คือ ประเทศอินโดนีเซียเช่นกัน โดยมีทั้งสิ้น 29 รายการ แต่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกเพียงร้อยละ 40.37 ขณะที่ประเทศไทยมีน้อยที่สุดเพียง 19 รายการ แต่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงถึงร้อยละ 75.51 ส่วนประเทศฟิลิปปินส์มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่ต้องพิจารณาน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 1.05